ในบทความก่อนหน้านี้
ผมได้สรุปไปคร่าวๆ ว่า “นักปริยัติหรือพุทธวิชาการ” เป็นพวก “ทำลายศาสนาอย่างรุนแรงแบบถอนรากถอนโคน” เพราะ ความงมงายในศาสตร์ตะวันตก
และได้สรุปสาเหตุที่ทำให้นักปริยัติ/พุทธวิชาการเข้าใจคำสอนในพระไตรปิฎกผิดเพี้ยน
โดยสาเหตุหลักๆ 3 ประการ ดังนี้
- เชื่อวิทยาศาสตร์และ/หรือปรัชญาตะวันตกมากกว่าพระไตรปิฎก
- ขาดความเข้าใจในเรื่องของภาษาศาสตร์
- ไม่ปฏิบัติธรรมและ/หรือปฏิบัติธรรมอย่างไม่ถูกต้อง
และได้อธิบายการเชื่อวิทยาศาสตร์กับปรัชญาตะวันตกมากกว่าพระไตรปิฎกไปแล้ว
วันนี้จึงมาถึงหลักฐานสนับสนุนประเด็นที่ว่า ขาดความเข้าใจในเรื่องของภาษาศาสตร์
ก่อนที่จะอธิบายต่อไป
ขออนุญาตวิเคราะห์วิจารณ์ความคิดของคนไทยที่มีต่อพระภิกษุเสียก่อน เพราะเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของเหตุผลที่จะเขียนต่อไปข้างหน้า
เท่าที่ได้สังเกตความรู้สึกนึกคิดของพุทธศาสนิกชนชาวไทยมาตลอด
ผมรู้สึกว่าคนไทยส่วนใหญ่เห็นว่าพระภิกษุที่ตนนับถืออยู่นั้น
พูดแต่ความจริงตลอด
คำพูดหรือคำสอนของพระเป็นความจริงตลอดไป
กลุ่มบุคคลเหล่านี้
จะไม่มีสติสัมปชัญญะที่จะมาทบทวนเลยว่า
ที่ครูบาอาจารย์สอนหรือที่ครูบาอาจารย์ปฏิบัติอยู่นั้น
มันถูกต้องตามพระไตรปิฎกหรือเปล่า
สรุปง่ายๆ
ก็ว่า คิดว่าพระโกหกไม่เป็น
คำว่า
โกหกที่ว่านั้น หมายความรวมถึงโกหกแบบตั้งใจและโกหกแบบไม่ตั้งใจนะครับ
โกหกแบบตั้งใจเป็นยังไง?
ขอให้ดูตัวอย่างสมีที่ปราชิกทั้งหลาย
เช่น สมีนิกร สมียันตระ และสมีภาวนาพุทโธ รวมถึงสมีธัมมชโย เป็นต้น
พวกนี้ก็โกหกสาวกทั้งนั้น ก็ยังมีคนเชื่อคนนับถือเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กรณีของนักโทษชายจำลอง คนซื่อ (สมีภาวนาพุทโธ) ยิ่งน่าสนใจมาก เพราะถูกศาลฏีกาตัดสินจำคุก
50 ปี ในข้อหาข่มขืนเด็กผู้หญิง ในปัจจุบันก็ยังอยู่ในคุก
ก็ยังมีสาวกเชื่อถือ
ไปเยี่ยมเพื่อฟังคำสอนทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี และเอาเงินไปให้อีกด้วย จนกระทั่ง น.ช. จำลอง
มีเงินฝากเป็นสิบล้านบาท
รวยที่สุดในคุกบางขวาง
โกหกแบบไม่ตั้งใจเป็นยังไง?
โกหกแบบนี้
คือ เรียนมายังไงก็สอนไปอย่างนั้น โดยไม่รู้ว่า ที่ตนเองเรียนมานั้นผิด เช่น
สาวกของพระพม่าที่สอนว่าปฏิบัติธรรมเพียงหัวข้อธรรมะใดหัวข้อธรรมะหนึ่งของสติปัฏฐาน
4 ก็สามารถบรรลุพระอรหันต์ได้
คำสอนดังกล่าวนั้น
ไม่จริง คนที่สอนก็ต้องโกหกแน่ๆ
เพราะเป็นการสอนของไม่จริง แต่เป็นการโกหกแบบไม่ตั้งใจ
ที่ว่าเป็นการสอนของไม่จริง คำสอนดังกล่าวไม่จริงอย่างไร?
ขออธิบายสั้นๆ
ก่อนในที่นี้ คำอธิบายที่ละเอียดกว่านี้ จะนำไปเขียนไว้อีกที่หนึ่ง
1)
สติปัฏฐาน 4 ไม่เป็นวิปัสสนา [เห็นแจ้ง]
เป็นเพียงอนุปัสนา [ตามเห็น] เท่านั้น
2)
สติปัฏฐาน 4 เป็นโพธิปักขยธรรม ขั้นพื้นฐานเท่านั้น
โพธิปักขิยธรรม
คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ประกอบด้วยธรรมะ 7 หมวด คือ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน
4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรคมีองค์
8 รวมเป็น 37 จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37
เมื่อสติปัฏฐาน
4 เป็นเพียงโพธิปักขยธรรม ขั้นพื้นฐาน แล้วปฏิบัติธรรมตามสติปัฏฐาน 4
แต่เพียงอย่างเดียว จะสามารถทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้อย่างไร
สติปัฏฐาน
4 เองนั้น ก็มีหลายบรรพ คือ มีทั้งหมด 21 บรรพ
ทั้ง
21 บรรพของสติปัฏฐาน 4 นั้น
พระพม่าสอนได้เพียงส่วนหนึ่งของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเท่านั้น
แล้วจะบรรลุพระอรหันต์ไปได้อย่างไร
ถ้าพระพม่าอ้างว่า
ปฏิบัติธรรมในหัวข้อสัจจบรรพะ/อริยสัจเพียงหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งสามารถทำให้
บรรลุพระอรหันต์ได้
ยังจะมีเหตุผลมากกว่าการปฏิบัติธรรมเพียงส่วนหนึ่งของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
แล้วบรรลุพระอรหันต์ได้เสียอีก
แต่ถึงจะอ้างอย่างนั้นก็เป็นไปไม่ได้อยู่ดีอีกเช่นกัน
ผมขอเปรียบเทียบให้ดูหลักสูตรการสอนก็แล้วกัน
เอาวิชาวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาขึ้นเป็นตัวอย่างก็ได้ จะเห็นว่า ถึงแม้จะเป็นวิทยาศาสตร์เหมือนกัน
แต่ระดับความละเอียดลึกซึ้งของเนื้อหาวิชาก็จะแตกต่างกันไป
ดังนั้น
สัจจบรรพะ/อริยสัจในสติปัฏฐาน 4 ก็เป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นเท่านั้น
ยังไม่ใช่อริยสัจ 4 ที่จะสามารถทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้
ในส่วนนี้
ผมตั้งใจที่จะเขียนถึงการขาดความเข้าใจในด้านภาษาศาสตร์ของนักปริยัติ/พุทธวิชาการ
แต่เห็นว่า การที่พุทธศาสนิกชนคนไทย ไม่ค่อย “สงสัย” ในองค์ความรู้ของพระภิกษุ
ส่วนใหญ่จะเห็นว่าพระไม่โกหก
หรือพระพูดความจริงตลอด ซึ่งมันไม่ใช่เช่นนั้น
พระโกหกได้ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
ดังนั้น
พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ก็ควรจะ “ตรวจสอบ”
พระภิกษุที่เรากำลังจะถวายข้าวปลาอาหารด้วยว่า
เป็นพระที่สมควรจะได้รับภัตตาหารของเราหรือเปล่า
เป็นพระที่เข้าใจศาสนาอย่างดี
สามารถสอนเราได้ หรือเป็นคนที่อยู่ในชีวิตฆราวาสไม่ได้ เข้ามาอาศัยผ้าเหลืองเพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น..
พระประเภทหลังนี้ ตักบาตรไปก็เสียข้าวสุกเปล่า ไม่ได้บุญบารมีอันใด...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น